เมนู

คือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสย-
ปัจจัย.
ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในวาระแรก จึงไม่ตรัส
อย่างนี้เล่า
ตอบว่า เพราะทรงแสดงหมายถึงถิ่นที่รูปเป็นไป
จริงอยู่ ปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงแสดงในกามภพอันเป็นถิ่นที่รูป
เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ แห่งโอปปาติกะผู้มีอายตนะไม่บริบูรณ์
และแห่งเทพในรูปาวจร ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ 3 นี้ จึงไม่ตรัสว่า
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) แต่
ตรัสว่า ฉฏฺฐยตนํ (อายตนะที่ 6) ดังนี้ ในนามรูปนั้น นาม มีนัยตาม
ที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนรูปพึงทราบว่า หทยรูป หทยรูปนั้น เป็น
ปัจจัยแก่อายตนะที่ 6 นี้ 2 อย่าง คือ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย
แล.นี้เป็นวาระที่ต่างกันในวาระที่ 3.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ 4


ก็วาระที่ 4 ตรัสไว้ด้วยอำนาจพวกสัตว์ที่เป็นสังเสทชะและโอปปาติกะ
ด้วยอำนาจกำเนิด พวกสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์ด้วยอำนาจอายตนะ พวกสัตว์ใน
กามาพจรด้วยสามารณแห่งภพ ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ 4 นี้ จึงตรัสว่า
นามรูปปจิจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) ดังนี้ ใน
นามรูปนั้น นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ 6 ด้วยสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัย
แก่อายตนะมีจักขุป็นต้น ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย บรรดารูป หทยรูปเป็นปัจจัยแก่